About us
Covid19 ได้ทำให้เกิดความขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีส่วนในการทดสอบ ความปลอดภัย อุปกรณ์ป้องกันบุคลากร frontline
ตั้งแต่เดือนเมษายน2563 และทางแล็ปทดสอบได้พบว่าอุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจที่ ใช้กันอยู่ทั่วไปมีจำนวนน้อยมากที่ผ่านมาตรฐานและมีความเสี่ยงสูง
ในการที่บุคคลากรจะเกิดการติดเชื้อในระหว่างปฎิบัติงาน จึงมีแนวคิดจากผู้บริหารหลากหลายหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยร่วมกับผู้นำองค์กรเอกชนในการพัฒนาหน้ากาก high efficiency เพื่อคนไทย โดยเฉพาะ โดยจัดตั้ง
High Efficiency Filtration Technology lab(HEFT) ซึ่งใช้งบประมาณกองทุนเพื่อการวิจัย C2f ตลอดจนระดมบุคคลากรนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยวัสดุและโลหะศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ เข้าร่วม ทำงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับเอกชน จากหลากหลายหน่วยงาน เพื่อสร้างนวัตกรรม เพื่อคนไทยจะได้มั่นใจในทุกลมหายใจ
CURE ENTERPRISE
Cure Enterprise
เป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่มือคนไทยโดยเฉพาะทางด้านความปลอดภัย
ทางสุขภาพทั้งของบุคลากร เจ้าหน้าที่ ตลอดจนประชาชนทั่วไป
ผลประกอบการประมาณ50% จะถูกนำกลับไปสนับสนุนหน่วยงานวิจัยต่างๆในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และหน่วยงานทางด้านสุขภาพหรือ
องค์กรการกุศลต่างๆ เพื่อความมั่นคงทางสุขภาพระยะยาวของคนไทย
HEFT: High Efficiency Filtration Technology Laboratory
เป็นห้องแล็ปแฉพาะทางด้านเทคโนโลยีการกรองอากาศขั้นสูงสุด ซึ่งได้รับการสนับสนุนเงินทุนสามสิบล้านบาทจากทุนศตวรรษที่สอง (The Secondary Fund Chula: C2F) เพื่อวิจัย ทดสอบ และ ออกแบบเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพ ตั้งอยู่ภายใต้ สถาบันวิจัยโลหะและว้สดุจุฬา (MMRI: Metallurgy and Material Science Research Institute)
HEFT Team
ที่ปรึกษาโครงการ
-
ศ. ดร. สุพจน์
เตชวรสินสกุล
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ -
ผศ. นพ. นครินทร์
ศิริทรัพย์ -
อ. พญ. วิภาดา
ติงธนาธิกุล
-
(หัวหน้าโครงการ)
ศ. ดร. ประณัฐ
โพธิยะราช -
ผศ. ดร. รัฐพล
รังกุพันธุ์ -
ดร. มนัญญา
โอฆวิไล -
ผศ.ดร. กฤษณา
ศิรเลิศมุกุล
-
รศ. ดร.อนงค์นาฏ
สมหวังธนโรจน์ -
รศ. ดร. ดุลยพงศ์
วงศ์แสวง -
อ. ดร. ชลิดา
คล้ายโสม -
อ. ดร. กฤชชาติ
ว่องไวลิขิต -
อ.ดร พิชญะ
สิทธิอมร -
ผศ. ดร. พิมพ์พร
พลเพชร
HEFT Lab Researchers
ทีมนักวิจัยของ HEFT Lab ประกอบไปด้วยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ (MMRI)และจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลากหลายส่วนภาควิชาเนื่องจากการวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในหลายด้านเพื่อให้ผลงานการพัฒนานวัตกรรมมี ประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นได้ ประกอบกับความเห็นจากฝั่งผู้ใช้งานจากคณาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มั่นใจได้ ว่าผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นใช้งานได้จริงในพื้นที่การใช้งาน